วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้งานด้าน GIS



ด้านการสาธารณสุข หลายท่านก็คงนึกว่า มันไปเกี่ยวอะไรกัน ก็ต้องตอบว่า โรคร้ายหลายๆโรคเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะสิ่งแวดล้อมนั้นคือ ภูมิประเทศเปลี่ยน นิเวศวิทยาเปลี่ยน ก็ทำให้พาหะนำโรค จากที่เคยอยู่แบบสมดุลย์ธรรมชาติ ก็เริ่มออกอาละวาดลงมาสู่บ้านเรือนคน และทำให้ ผมมาเจอกับคุณหมอท่านหนึ่ง ที่ท่านทำการ วิจัย เกี่ยวกับ โรคฉี่หนู ที่เป็นโรคของชาวบ้าน เพราะโรคนี้เกิดกับ ชาวบ้านที่ทำนา เป็นหลัก และโรคนี้เองทำให้ผู้คนตายไปเป็นจำนวนหลักพันคน และทางคุณหมอก็ บอกว่า พาหะก็คือ หนู หนูมีมากเกินไปไม่ได้ถูกกำจัดโดยศัตรูทางธรรมชาติทำให้มากินพืชไร่ของคน และเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรค ที่มากับหนูนี้ จะอยู่ได้บริเวณพื้นที่ที่มี การระบายน้ำเลว และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน อยู่ระดับ 6-7 ผมกับคุณหมอก็เริ่มทำการวิจัยโดยใช้ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่ทำการศึกษา เพราะแค่จังหวัดนี้มี คนตายเพราะโรคนี้ เกือบ สองพันคน ผลการวิจัยทาง gis ก็สรุปว่า ปัจจัยหลักคือการระบายน้ำ พื้นที่ไหน มีการระบายน้ำไม่ดีจะมีโอกาสในการเกิดโรคสูง ซึ่งผลการวิจัย ก็น่าจะขยายผลไปทั้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเราจะได้รู้ถึงบริเวณที่มีความเสี่ยง จะได้หาทางป้องกันก่อน เพราะหลักของสาธารณสุข คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้น ไม่ใช่การรักษาโรค เรื่องนี้ผมก็รู้สึกดีครับ เพราะต้นตระกูลผมก็เป็นชาวนา อย่างน้อยผมก็ได้ตอบแทน บรรพบุรุษผมบ้าง และต้องยกความดีให้คุณหมอท่านที่ท่านมีจิตใจ ที่หมอจริงๆ เพราะท่านทำเรื่อง ที่เป็น โรคของคนด้อยโอกาสในสังคม ทั้งๆที่ท่านมีโอกาสที่จะทำอะไร ที่ก่อให้เกิดรายได้ แต่ท่านก็เลือก ที่จะทำเรื่องที่เป็นประโยชน์ มากกว่า
ด้านการโทรคมนาคม เรื่องนี้เป็นการวางเครือข่ายการสื่อสาร ก็มีเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ มาหาผมเขาอยากได้ข้อมูลความสูงภูมิประเทศประกอบกับแผนที่ใน ลักษณะตัวเลข เพื่อทำการวิเคราะห์ ว่าจุดไหนอับสัญญาน บ้าง โดยทางเขาก็ได้พัฒนาโปรแกรมด้านนี้มาแล้ว แต่ข้อมูลความสูงภูมิประเทศ เขาต้องอ่านจากแผนที่ ทำให้ ลำบากและช้าไม่ทันการ จึงอยากจะได้ข้อมูลความสูงภูมิประเทศแบบที่เป็นตัวเลข เพื่อจะได้ข้อมูลและเชื่อมต่อกับระบบของเขาได้ทันที งานนี้ผมฟังแล้ว สบายมากครับ เพราะระบบแผนที่ทางการทหาร ที่ผมวิจัยมี function ด้านนี้อยู่แล้ว และงานนี้ถ้าตกลงกันได้ ผมจะได้รับการสนับสนุนเครื่องไม้เครื่องมือ จากองค์การโทรศัพท์ เรื่องนี้ก็ เป็นเรื่องดีที่เป็นการพัฒนาที่ใช้บุคลากร ในหน่วยงาน ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่จะสูญเสียไปถ้าต้องจ้างเอกชนเป็นผู้จัดทำ
ด้านโบราณคดี เรื่องนี้เป็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท โบราณคดี ที่จะหาว่าบริเวณเป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดี มีปัจจัยอะไรบ้าง โดยใช้บริเวณ จังหวัดนครสวรรค์ และลพบุรี เป็นบริเวณที่ศึกษา ผลการศึกษาก็ต้องใช้เทคนิควิธีการทาง gis ที่เลือกว่า การ overlay analysis โดยใช้ปัจจัย ดิน แหล่งน้ำ และลักษณะภูมิประเทศ ผลการวิจัย ก็ได้คำตอบว่า ปัจจัยการตั้งถิ่นฐานก็คือ แหล่งน้ำ, ดินที่แสดงว่าเป็นแหล่งน้ำโบราณหรือ ลานตะพัก และ ต้องใกล้บริเวณภูเขาเพื่อจะได้ทำการหลบภัย

ที่มา : http://www.geopnru.co.cc/?p=32

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น